วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

ศุภมงคลแห่งชีวิต

ตอนที่ 1
ต้นไม้มงคลในพุทธประวัติ

ต้นไม้มงคลประจำทิศเหนือ ( อุดร )


(1 ) มะเดื่ออุทมพร
ชื่อตามท้องถิ่น :มะเดื่อ,มะเดื่ออุทุมพร,มะเดื่อเกลี้ย,เดื่อเกลี้ย,หมากเดื่อ,เดื่อน้ำ
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Figus racemosa Linn.
วงศ์ :MORACEAE

คติความเชื่อ
มะเดื่อ เป็นไม้มงคลที่ตำราโบราณให้ปลูกไว้ด้านทิศอุดร (ทิศเหนือ) ลักษณะความเป็นมงคลไม่ปรากฏแน่ชัด แต่มีบันทึกไว้ในตำนานชาวฮินดูว่าเป็นไม้มงคล เป็นที่เชื่อถือของชาว ไทย พม่า มอญ มาแต่โบราณ อย่างไรก็ตามในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ได้บันทึกไว้ว่ามีการนำไม้มะเดื่ออุทุมพรมาทำพระที่นั่งและเครื่องใช้ในพิธีราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะเดื่ออุทุมพร ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ อาจสูงได้ถึง ๓๐ เมตร ลำต้นเกลี้ยงสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเทา มีน้ำยางขาว กิ่งอ่อนสีเขียวหรือเขียวปนน้ำตาล มีขนคลุมกิ่งแก่สีน้ำตาล เกลี้ยงหรือมีขนปกคลุม
ใบ : เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปวงรี รูปไข่ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ฐานมนหรือกลม ผิวใบบาง เกลี้ยงหรือมีขน
ดอก : ออกเป็นช่อ เกิดภายในฐานรองดอกี่มีรูปร่างคล้ายผล ออกที่ลำต้นและกิ่งดอกแยกเพศแต่อยู่ช่อเดียวกัน
ผล : รูปกลมแป้นหรือรูปไข่แกมสามเหลี่ยม ขนาดประมาณ ๑ เซนติเมตร มียางเล็กน้อยรสฝาดมัน มีขนละเอียดสีขาว ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีแดงแกมชมพู

การปลูก : โดยธรรมชาติมะเดื่อเป็นไม้ขึ้นเองตามป่าดงดิบชื้น บริเวณริมแม่น้ำลำคลอง การปลูกมักใช้เมล็ดปลุกลงไปในแปลงปลูกเลย
การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร
เปลือก : ต้นรสฝาดแก้อาการท้องเสียที่ไม่ใช่บิด หรืออหิวาตกโลก แก้อาเจียน ห้ามเลือด ชำระแผล
ยางมะเดื่อ : รักษาอาการแสบร้อนจากแผลงูสวัด
ราก : รสฝาดเย็นไข้ทรพิษ ไข้หัว ไข้กาฬ แก้พิษร้อนในถอนพิษไข้ แก้ท้องร่วง กล่อมเสมหะและโลหิต
ผล : รสฝาดเย็น แก้ท้องร่วง สมานแผล ผลสุกเป็นยาระบาย

ประโยชน์ทางด้านอาหาร
ยอดอ่อน : และผลอ่อนรับประทานเป็นผักต้มจิ้มน้ำพริก ใช้แกง
ใบ : ใช้ทำห่อหมกแทนใบยอได้

ประโยชน์ทางด้านอื่น ๆ : เป็นไม้ปลูกบังร่มให้ต้นกาแฟ และ ใช้เลี้ยงครั่ง เนื้อไม้ใช้ทำแอก ไถ ทำหีบไส่ของ และไม้จิ้มฟัน ยางมะเดื่อใช้ปิดทองคำเปลว


(2) ส้มซ่า

ชื่อตามท้องถิ่น : มะขุน , ส้มส่า , ส้มมะงั่ว , มะนาวควาย
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Citrus medica Linn. var. Linetta
วงศ์ : RUTACEAE

คติความเชื่อ
ตำราปลูกต้นไม้ของเก่ากล่าวไว้ว่า ส้มซ่า (รวมทั้งมะเดื่อและส้มป่อย) เป็นไม้ประจำทิศอุดร (ทิศเหนือ) แต่มิได้บอกไว้ว่ามีมงคลทางด้านใด อย่างไรก็ตาม ต้นไม้ที่ปลูกไว้ทางทิศเหนือเชื่อกันว่าจะสามารถป้องกันอาคมและเวทมนต์ คนกระทำย่ำยี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ส้มซ่า เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง
ใบ : เป็นใบประกอบที่มีใบย่อย 1 ใบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบสอบเข้าไปบรรจบกับหูใบขนาดเล็ก มองดูเหมือนใบแบ่งออกเป็นสองขยัก เนื้อใบค่อนข้างหนาเนียน
ดอก : สีขาว กลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นกระจุกตามกิ่งเล็กๆ
ผล : ค่อนข้างกลม ขนาดโตกว่าผลมะกรูดเล็กน้อย ผิวค่อนข้างหนาและขรุขระ

การปลูก
ใช้เมล็ดปลูกลงในแปลงดินให้งอกเป็นต้นขึ้นมาเลยโดยไม่ต้องย้ายที่ แต่นิยมใช้กิ่งตอนปลูกในหลุมขนาดกว้าง ยาว ลึก ด้านละ 30 เซนติเมตร ตากหลุมไว้ 1-2 สัปดาห์ รองก้นหลุมด้วยใบไม้แห้ง ใช้ปุ๋ยคอกคลุกกับดินที่ขุดขึ้นมาใส่ลงไปในหลุมประมาณ 2 ใน 3 ของความลึก แกะถุงที่หุ้มกิ่งตอนออกแล้วนำลงปลูกในหลุม กลบดินรอบโคนต้นให้พูนขึ้นมา เพื่อกันน้ำขัง ปักหลักยึดลำตันกันลมพัดโยก ในสัปดาห์แรกควรทำที่พรางแสงแดด นอกจากปลูกลงแปลงดินแล้วอาจปลูกในกระถาง โดยใชกระถางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 50 เซนติเมตร

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

ประโยชน์ทางเป็นสมุนไพร
ผล : ฝานเอาส่วนผิวทำยาหอม แก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย ผลผ่าซีก เติมเกลือเล็กน้อย เอาไปรนไฟให้เปลือกนิ่ม แล้วบีบเอาน้ำจิบแก้ไอ กัดฟอกเสมหะในลำคอ
ใบ : ต้มน้ำอาบรักษาโรคผิวหนัง ทำให้ผิวเกลี้ยงเกลา

ประโยชน์ทางอาหาร
ผิวเปลือกและน้ำจากผลใช้ปรุงอาหารไทย





(3) ส้มป่อย

ชื่อตามท้องถิ่น : ส้มป่อย , ส้อมขอน ,เอกราช
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Acacis rogata Mcrr.
วงศ์ : MIMOSACEAE

คติความเชื่อ
ส้มป่อยเป็นไม้มงคลที่คนสมัยก่อนใช้ในพิธีกรรมต่างๆ มาช้านาน ตามตำราปลูกต้นไม้ของเก่ากำหนดให้ปลูกต้นส้มป่อยไว้ในบริเวณบ้านด้านทิศอุดร (ทิศเหนือ) เชื่อกันว่าจะช่วยปัดเป่าสิ่งเลวร้ายและขับไล่ภูตผีปีศาจมิให้มารบกวน การทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ก็ใช้ใบส้มป่อยร่วมกับใบไม้มงคลอื่นๆ ประกอบในพิธีกรรม จะช่วยให้หายจากเคราะห์โศกหรือบรรเท่าเบาบางลง
ชาวเหนือเชื่อว่าส้มป่อยเป็นของขลังช่วยป้องกันสิ่งเลวร้ายและแก้คาถาอาคมเสื่อมถอย ในพิธีปลงศพของชาวเหนือ หลังจากเผาศพแล้วเจ้าภาพจะเตรียมน้ำส้มป่อยไว้ให้แขกลูบหน้าล้างมือ เชื่อกันว่าจะปัดเป่าความทุกข์โศก และป้องกันผีสางตามมารบกวน แม้น้ำที่ใช้สรงน้ำพระพุทธรูปหรือรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ของชาวเหนือ ก็ใช้ฝักส้มป่อยแช่น้ำร่วมกับขมิ้น ดอกคำฝอย ดอกสารภี เป็นการแสดงความเคารพบูชาและขอขมาลาโทษ เวลามีลมพายุ ชาวเหนือจะเอาฝักส้มป่อยเผาไฟ เชื่อว่าจะทำให้ลมพายุอ่อนแรงลงได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ส้มป่อย เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ขนาดใหญ่ เถาหรือลำต้น และกิ่งก้านเป็นไม้เนื้อมีหนาม สามารถเลื้อยพาดต้นไม้อื่นได้
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบมน
ดอก : ขนาดเล็ก ออกตามง่ามใบบริเวณปลายกิ่ง ลักษณะเป็นช่อกลม มีเกสรเป็นพู่เหมือนดอกกระถิน
ผล : เป็นฝักแบน ยาว และเป็นปล้อง คล้ายถั่วลันเตาขยายใหญ่ ผิวย่น ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ฝักอ่อนสีเขียวอมแดง พอแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม

การปลูก
อาจปลูกโยการเอาเมล็ดเพาะในแปลงปลูกแล้วปล่อยให้เจริญเติบโตเป็นต้นขึ้นมาเลย หรือใช้กิ่งชำมาปลูก โดยขุดหลุมขนาดกว้าง ยาว ลึกด้านละ 30 เซนติเมตร ทางภาคเหนือนิยมปลูกต้นส้มป่อยไว้ใกล้บ้าน คอยตัดแต่งกิ่งไม้ให้ต้นใหญ่เกินไป เพื่อสะดวกในการเก็บยอดอ่อนมารับประทาน

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยการเพราะเมล็ด และปักชำ

ประโยชน์ทางสมุนไพร ใบ : รสเปรี้ยว ฝาด และร้อนเล็กน้อย มีสรรพคุณขับเสมหะ ขับระดูขาว ล้างเมือกในลำไส้ แก้บิด ฟอกโลหิต เอามาตำห่อผ้าทำลูกประคบให้เส้นเอ็นคลาย ยอดอ่อนต้มเอาน้ำมาผสมน้ำผิ้งรับประทาน เป็นยาขับปัสสาวะ หรือเอายอดอ่อนตำรวมกับขมิ้น แล้วหมกไฟพออุ่นนำไปฟอกฝีแก้พิษฝี
ดอก : รสเปรี้ยว ฝาด มัน มีสรรพคุณแก้เส้นเอ็นพิการ
ฝัก : รสเปรี้ยว เอาไปปิ้งให้เหลืองชงน้ำจิบแก้ไอ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว ต้มน้ำอาบแก้โรคผิวหนัง ใช้สระผมขจัดรังแคและบำรุงผม
ต้น : รสเปรี้ยว ฝาด มีสรรพคุณแก้น้ำตาพิการ
ราก : รสขม ต้มเอาน้ำรับประทานแก้ไข้ แก้ท้องร่วม

ประโยชน์ทางอาหาร
ยอดอ่อนและใบอ่อน รับประทานเป็นฝัก ปรุงอาหารให้มีรสเปรี้ยว ดับกลิ่นคาว

ประโยชน์อื่น
น้ำจากฝักส้มป่อยใช้ขัดเครื่องเงิน เครื่องทองเป็นเงางาม
เปลือกใช้ย้อมผ้า ย้อมแห อวน


ต้นไม้มงคลประจำทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)


(1) ทุเรียน

ชื่อตามท้องถิ่น : มะทุเรียน,เรียน,ดือแย
ชื่อพฤษศาสตร์ : Durio zibethinus linn
วงศ์ : BOMBACEAE

คติความเชื่อ
คนสมัยก่อนถือเคล็ดตามชื่อที่คำว่า"เรียน"ว่า หากปลูกต้นทุเรียนไว้ในบริเวณบ้านทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน)ซึ่ตามตำราปลูกต้นไม้ของเก่ากล่าวไว้ว่า ทุเรียนเป็นต้นไม้ประจำทิศอีสาน จะทำให้คนในบ้านอยู่ออย่างเป็นสุขสถาพร ปราศจากอันตราย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ทุเรียน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นตรง สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งเป็นมุมแหลมปลายกิ่งตั้ง กระจายกิ่งกลางลำต้นขึ้นไป เปลือกต้นสีเทาแก่ ผิวขรุขระหลุดลอกออกเป็นสะเก็ด ไม่มียาง
ใบ: เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว แตกเป็นค่ตรงกันข้าม ระนาบเดียวกันแผ่นใบแข็งหนา รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบเรียบลื่นมีไขนวล ใบด้านบนมีสีเขียว ด้านล่างมีสีน้ำตาล เส้นใบด้านล่างนูนเด่น ขอบใบเรียบ
ดอก : เป็นดอกช่อ เกิดตามลำต้นและกิ่ง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ลักษณะคล้ายระฆัง กลีบดอกหนา แข็ง สีขาว มีกลิ่นหอม
ผล : เป็นผลเดี่ยว เปลือกหนา มีหนามแหลม แยกตามแต่ละส่วนของผลเรียกว่าพู ผลสีเขียว เมื่อสุกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาว เมื่อสุกมีสีเหลืองอ่อนและนิ่ม รสหวาน เมล็ดกลมรี มีเปลือกหุ้มสีน้ำตาล ผิวเรียบ เนือ้อในเมล็ดสีขาว

การปลูก
ทำได้โดยเพาะต้นกล้าทุเรียนจากเมล็ด เมื่อต้นกล้าทุเรียนมีอาประมาณ 1 ปี หรือสูงราว 1 ฟุต ก็จะนำไปปลูกปลูก แต่การปลูกจากต้นกล้าทุเรียนมักกลายพันธุ์ ทำให้ได้ทุเรียนพันธุ์ใหม่ ซึ่งบางทีก็ได้พันธุ์ดีเป็นที่นิยม ตัวอย่างทุเรียนพันธุ์ใหม่ซึ่งเกิดจากการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เช่น พันธุ์ชนี ได้จากเมล็ดพันธุ์ลวง พันธุ์ก้านยาวได้จากเมล็ดพันธุ์ทองสุก และพันธุ์กบเล็บเหยี่ยว ด้จากเมล็ดพันธุ์การะเกด เป็นต้น แต่ถ้าต้องการทุเรียนพันธุ์ต้นแม่ควรใช้กิ่งตอนปลูก โดยมากจะปลูกตอนช่วงต้นฤดูฝน

การขยายพันธุ์ : ด้วยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง

ประโยชน์ทางสมุนไพร
ใบ : รสขมเฝื่อน เย็น ใช้ต้มน้ำอาบแก้ไข้ แก้ดีซ่าน ใช้เป็นเป็นยาขับพยาธิ ทำให้หนองแห้ง
เนื้อหุ้มเมล็ด : รสหวาน ร้อน รับประทานแก้โรคผิวหนัง ขับพยาธิ ทำให้ฝีแห้ง
เปลือกผล : รสฝาดเฝื่อน มีสรรพคุณสมานแผล แก้น้ำเหลืองเสีย พุพอง แก้ฝีตาลซาง เผาให้เป็นถ่านเอามาละลายน้ำมันมะพร้าวทางแก้คางทูม หรือเผาให้เกิดควันใช้ไล่ยุงและแมลง
ราก : รสฝาดขมใช้ต้มเอาน้ำดื่มแก้ท้องร่วง


ประโยชน์ทางอาหาร
เนื้อหุ้มเมล็ดรับประทานเป็นผลไม้ หรือแปรเป็นขนมได้หลายหย่างรับปรานเป็นของว่าง


คุณค่าทาางโภชณาการ
เนื้อทุเรียนหมอนทอง 100.00 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 156 แคลอรี่ ประกอบด้วย
น้ำ 62.50 กรัม ,คาร์โบไฮเดรต 29.60 กรัม,โปรตีน 2.10 กรัม,ไขมัน 3.30 กรัม ,กาก 1.40 กรัมแคลเซียม 29.00 มิลลิกรัม,ฟอสฟอรัส 34.00 มิลลิกรัม,เหล็ก 1.10 มิลลิกรัม ,เบต้า-แคโรทีน 46.00 ไมโครกรัม,วิตามิน B10.16 มิลลิกรัม,วิตามิน B20.23 มิลลิกรัม ,ไนอาซีน 0.25 มิลลิกรัม ,วิตามิน C35.00 มิลลิกรัม
เนื้อทุเรียนก้านยาว 100.00 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 141แคลอรี่ ประกอบด้วย
น้ำ 57.30 กรัม,คาร์โบไฮเดรต 33.70 กรัม,โปรตีน 2.50 กรัม,ไขมัน 4.10 กรัม ,กาก 1.70 กรัม
แคลเซียม 18.00 มิลลิกรัม,ฟอสฟอรัส 36.00 มิลลิกรัม,เหล็ก 0.80 มิลลิกรัม ,เบต้า-แคโรทีน 134.00 ไมโครกรัม,วิตามิน B1 0.22 มิลลิกรัม ,วิตามิน B2 0.18 มิลลิกรัม ,ไนอาซีน 2.80 มิลลิกรัม ,วิตามิน C
34.00 มิลลิกรัม


(๒) ไผ่รวก
ชื่อตามท้องถิ่น : ไม้รวก ,ไม้ฮวก ,แวบ้าง ,สะลอม
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Thyrsostrachys siamensis Gamble
วงศ์ : GRAMENEAE

คติความเชื่อ
เป็นความเชื่อกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณแล้วว่า การปลูกต้นไผ่ไว้ในบริเวณบ้านจะทำให้คนที่อาศัยอยู่ในบ้านไม่คดโกงใคร ทำมาหากินด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและมีความคุณธรรม โดยถือเอาเคล็ดความตรงของลำต้นไผ่ และสีขาวบริสุทธิ์ของเนื้อไม้ไผ่ด้านในของปล้อง ตรงกับความเชื่อของชาวจีนที่ว่า ไผ่จะเสริมมงคลให้คนในบ้านมีความมุ่งมั่น ซื่อตรง เอื้ออารี และกตัญญูรู้คุณ นอกจากนั้นแล้วตำราปลูกต้นไม้ของเก่ายังกำหนดให้ปลูกไผ่รวกไว้ทางทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จะเป็นมงคล ทำให้อยู่สำราญ ไม่มีภัยอันตราย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไผ่รวก เป็นไผ่ลำเล็ก ขึ้นเป็นกอแน่น สูง 7-15 เมตร ลำตรงเปลา สีเขียวอมเทา มีกิ่งเรียวเล็กตอนปลายลำ ส่วนมากจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-6 เซนติเมตร ค่อนข้างเรียบ มีวงใต้ข้อสีขาว ลำมีปล้องยาว 15-30 เซนติเมตร โดยปกติเนื้อจะหนา
กาบหุ้มลำมักจะติดต้นอยู่นาน ยาว 22-28 เซนติเมตร กว้าง 11-20 เซนติเมตร สีฟาง บาง อ่อน ด้านหลังปกคลุมด้วยขนอ่อนสีขาว มีร่องเป็นแนวเล็กๆ สอบขึ้นไปหาปลาย ซึ่งเป็นรูปที่ตัดเป็นลูกคลื่น ครีบกาบเล็กมาก รูปสามเหลี่ยม อาจจะเห็นไม่ชัดก็ได้ กระจังกาบมีเล็กน้อย หยักไม่สม่ำเสมอ มีขนละเอียด ใบยอดกาบ รูปสามเหลี่ยมมุมแหลม ยาวและแคบ ขอบงอโค้งเข้า
ใบ รูปหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเกือบกลม ใบทั้งสองด้านไม่มีขน เส้นลายใบ มี 3-5 เส้น ขอบใบคาย คม ก้านใบสั้น ไม่มีครีบหรือหูใบ กระจังใบเรียว ขอบเรียว สั้นกาบหุ้มใบข้างนอกไม่มีขน บ้างก็ว่ามีขนอ่อนสีขาวปกคลุม ปลายตัดหรือป้าน ไม่มีขน แต่พองโตกว่าส่วนอื่นบ้าง ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเหลืองก่อนร่วง
เหง้า เป็นเหง้าโค้งงอ ก่อนตั้งลำตรง เนื้อแน่นมาก มีรอยยับย่นคล้ายปุ่มตา

การปลูก
ขุดหลุมที่มีขนาดประมาณ 30x30x50 เซนติเมตรใช้ปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ (ประมาณ 1 กิโลกรัม ) ยาฆ่าแมลงฟูราดาน 1-1.5 ช้อนแกง (10-15 กรัมคลุกเคล้ากัับดินคนให้ทั่วแล้วกลบกลับคืนลงไปในหลุมให้ระดับดินสูงกว่าเดิมเล็กน้อยเผื่อสำหรับดินยุบตัวภายหลัง
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกไผ่อยู่ในช่วงฤดูฝน คือ ระหว่างเดือน พฤษภาคม-กันยายน เนื่องจากช่วงระยะที่เริ่มปลูกไผ่ต้องการน้ำมาก การปลูกในช่วง ฤดูฝนลดค่าใช้จ่ายในการลดน้ำลงได้มาก และเป็นระยะที่ไผ่มีการเจริญเติบโตดีที่สุดด้วย

การขยายพันธ์
แยกหน่อที่แทงออกมาจากโคนต้น หรือตัดป้องปักชำให้แตกรากแล้วนำไปปลูก

ประโยชน์ทางสมุนไพร
ราก:ขับปัสวะ แก้ไตพการ ขับนิ่ว แก้หนองใน ขับโลหิตระดู แก้มุสกิตระดูขาว แก้ไข้กาฬ แก้ไข้กาฬมูต แก้กระหายน้ำ แก้เบาแดง บำรุงเสมหะและโลหิต ชำระเสมหะและโลหิต ประสะโลหิต แก้ไข้พิษ
ขุยไผ่: แก้ทางปัสวะ แก้เสมหะ แก้บิด แก้โรคตาแดง แก้หืดไอ แก้ไข้ใบ ขับฟอกล้างโลหิตระดูที่เสีย ปะสะโลหิต ล้างทางเดินปัสวะ
ผล:แก้โรคตาแดง แก้หืด ไอ แก้ไข้อันผอมเหลือง แก้ฟกซ้ำบวม แก้ไข้
หน่อไม้: แก้หัวริดสีดวงทวารหนัก แก้ตับหย่อน ตับทรุด ม้ามย้อย กษัยเลือดเป็นก้อน
ตา แก้สตรีตกเลือดไม่หยุด ขับปัสวะ ดูดลมในกระเพาะอาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ฝี แก้กาฬเลือด แก้พิษฝีต่าง ๆ แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ

ประโยชน์ทางอาหาร
หน่อต้มหลายน้ำ หรือต้มกับใบย่านางเพื่อลดความขื่นขม รับประทานเป็นผักจิ้ม หรือใช้ประกอบอาหารทั้งผัดต้มแกง

คุณค่าทางโภชนาการ
หน่อไผ่รวกส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัมให้พลังงานแก่ร่างกาย 24 แคลอรี่ ประกอบด้วยน้ำ 93 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.5 กรัม ใยอาหาร 0.8 กรัม โปรตีน 2.5 กรัม แคลเซี่ยม 12 กรัม ฟอสฟอรัส 40 กรัม วิตามินB1 0.01 กรัม วิตามินB2 0.08 กรัม

ประโยชน์อื่น
ปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นแนวกั้นลม เนื้อไม้ใช้ทำรั้ว ทำเครื่องจักสาน ทำร่ม เครื่องมือเกษตรกรรมบางอย่าง เป็นไม้ค้ำยันพืชกสิกรรมต่าง ๆ ทำโป๊ะน้ำตื้น ใช้ก่อสร้างเป็นส่วนต่าง ๆ ของบ้าน ใช้ทำเป็นไม้อัด เครื่องตกแต่งบ้าน




(3) มะตูม
ชื่อตามท้องถิ่น : มะตูม(ทั่วไป) , มะปิ่น(ภาคเหนือ) , ตุ่มตัง(ล้านช้าง) , ตูม,ตุ่มตัง , กระทันตาเถร(ภาคใต้) , บักตูม , หมากตูม(อีสาน)
ชื่อพฤษศาสตร์ : Aegle marmelos Corr
วงศ์ : RUTACAE

คติความเชื่อ
มะตูม : ถือเป็นไม้มงคลโดยถือเอาจากคำว่า “ตูม” ซึ่งเปรียบเหมือนพลุหรือดอกไม้ไฟ อันแสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้ใบมะตูมยังใช้ในพิธกรรม และพิธีมงคลหลายอย่างของไทย ใช้ทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ ครอบครุ ชาวฮินดูเชื่อว่าใบมะตูมสามาป้องกันเสนียดจัญไรและขับไร่ภูตผีปีศาจ ตำราปลูกต้นไม้ของเก่าถือว่ามะตูมเป็นต้นไม้ประจำทิศอสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)ถ้าปลูกไว้ในบรเวณบ้านตรงตามทิศนี้ จะเกิดมงคล อยู่อย่างสำราญ ไม่มีภัยอันตราย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะตูม : เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ขนาดกลาง สูง ๕-๑๐ เซนติเมตร แตกกิ่งต่ำ เรือนยอดค่อนข้างโปร่ง ตามลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งยาว เปลือกต้นเรียบ สีเทา
ใบ : เป็นประกอบขนนก ออกเวียนรอบกิ่ง มีใบย่อยรูปไข่ 3 ใบ สองใบล่างออกตรงข้ามกัน ใบปลายมีขนาดใหญ่กว่า กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีกลิ่นหอม ถ้ายกใบส่องกับแดดจะเห็นต่อมน้ำมันเป็นต่อมใส ๆ กระจายทั่วใบ
ดอก : อกเป็นช่อตรงซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ดอกเล็ก สีขาวอมเขียว หรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม มีกลีบดอก 4-5 กลีบและกลีเลี้ยง 5 กลีบ ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลแก่ช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์
ผล : รูปไข่ เปลือกหนาและแข็งมาก เส้นผ่าศูนย์กลาง 8-10 เซนติเมตร ยาว 12-18 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นเหลืองอมเขียวและมีกลิ่นหอมเนื้อในนิ่ม สีส้มปนเหลือง มียางเหนียวใส เมล็ดรูปรีจำนวนมากอยู่ในเนื้อ

การปลูก
ในธรรมชาติมะตูมเป็นต้นไม้ที่เกิดขึ้นเอง พบประปลายตามป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ เจริญงอกงามดีในดินแทบทุกชนิด และการปลูกนิยมตอนกิ่งเอามาปลูก หรือใช้ต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ด

ประโยชน์ทางสมุนไพร
ผล : สุกใช้รักษาสิว เอามาผ่าซีกตักเนื้อออก เอาเปลือกฝนกับฝาละมี(ฝาหม้อดิน) ให้เป็นครีมใช้แต้มหัวสิวก่อนนอนแล้วล้างออกในตอนเช้า จนหัวสิวหลุด
เปลือกผล : ฝนกับน้ำปูนใส ทาให้ทั่วท้องที่กำลังตั้งครรภ์ เพื่อช่วยบรรเทาความร้อน บำรุงครรภ์
ผลดิบ : แก้ท้องเสียเรื้อรัง ฝานเป็นแผ่นบาง ๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วคั่วให้หอม 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 4 แก้ว ให้เดือดนาน 10-15 นาที ดื่มตอนอื่น ๆ คร้งละ 1 แก้ว ทุก 2 โมง จนอาการบรรเทา
ผลแก่ : ขูดผิวออกให้หมดทุบพอร้าว ใส่น้ำตาลเรียกว่า น้ำอัฐบาน หรือใช้ผลห่ามฝานเป็นแ่ผ่นตากแดด ย่างไฟพอหอม ต้มหรือชงในน้ำร้อน เติมน้ำตาล ดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงหัวใจ
ผลสุก : กินเนื้อครั้งละ 1 ลูก ดื่มน้ำตามมาก ๆ แก้ท้องผูก
ใบ : ตำละเอียด พอกแผลรักษาแผลสด แผลเรื้อรัง
ราก : คั่วไฟให้เหลืองแล้วดอกกับสุรา แก้พิษฝี แก้ไข้ แก้ลมหืดหอบ ไอ

ประโยชน์ทางอาหาร
นไทยเรานำมะตูมมาประกอบอาหารหลายอย่าง เช่น ยอดอ่อนจิ้มน้ำพริกใบมาคั้นน้ำปรุงเป็นแกงบวน ซึ่งถือว่าเป็นแกงของพิธีมงคล ผลนำไปเชื่อมรับประทานเป็นของหวาน ผลแก่ตากแห้งนำไปทำเครื่องดื่มทำให้สดชื่น กระปรี้กระเปร่า

ข้อควรรู้และควรระวัง
ใบอ่อนที่นิยมนำมาจิ้มน้ำพริก ถ้ากินมากจะทำให้เป็นหมันหรือแท้งลูกได้ ดังนั้นหญิงมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง

ประโยชน์อื่น
เนื้อ : ไม้ละเอียดสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมเมื่อยังสด ใช้ทำตัวเกวียน เพลาเกวียว หวี
ยาง : จากผลดิบผสมสีทากระดาษแทนกาว
เปลือก : ให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้า


ต้นไม้มงคลประจำทิศตะวันออก( บูรพา )

(1) กุ่มน้ำ

ชื่อตามท้องถิ่น : ผักกุ่ม,ผักก่าม,อำเภอ,เหาะเถา,รอถ
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Crateva magna [Lour ] DC.
วงศ์ : CAPPARIDDCEAE

คติความเชือ
ประเพณีโบราณเมื่อจะปลูกสร้างบ้านเรือนใหม่นิยมหาพรรณไม้ที่เป็นมงคลมาปลูกไว้บริเวณบ้าน หนึ่งในไม้มงคลเหล่านั้นคือ ต้นกุ่ม จเป็น กุ่มน้ำ หรือ กุ่มบก ก็ถือเป็นมงคลเดียวกัน เป็นไม้มงคลที่โบราณนิยมปลูกไว้ทางทิศบูรพา หรือทิศตะวันออกเชือกันว่าจะบันดาลให้ผู้อยู่อาศัยมั่งคั่งด้วยทรัพย์สินเงินทองเป็นกลุ่มเป็นก้อนมีฐานะเป็นปึกแผ่นมั่นคง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กุ่มน้ำ เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ขนาดกลาง สูงประมาณ 5-10 เมตรชอบขึ้นใกล้น้ำบริเวณริมตลิ่งของแม่น้ำ ลำคลอง หรือลำธารในป่าธรรมชาติ มักมีลำต้นคดงอ แตกกิ่งต่ำ พบมากในภาคกลางและภาคใต้แถบจังหวัดระนอง ชุมพร กระบี่ และพังงา
ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยรูปหอกหรือรูปขอบขนานปลายค่อย ๆ เรียวแหลม โคนสอบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโดนใบเบ้ยวเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนา เป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน เส้นแขนงใบเห็นชัดทางด้านล่างใบแห้งสีค่อนข้างแดง
ดอก เป็นช่อแบบช่อกระจะ ออกบริเวณส่วนยอด กลีบดอกสีขาวแล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง รูปค่อนข้างกลมหรือรี โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้าน กลีบเลี้ยงรูปไข่ปลายแหลม กุ่มน้ำจะออกดอกช่วงระหว่างเดือนธันวาคม ถึง เมษายน
ผล สีนวล รูปรี เปลือกผลมีนวลก้านผลยาว 8-13 ซม. มีเมล็ดมาก เมล็ดรูปเกลือกม้าสีน้ำตาลเข้ม

การปลูก
ปลูกลงแปลงโดยขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักผสมดินร่วนเป็นดินปลูก

ขยายพันธ์
เพาะเมล็ดให้งอกงามเป็นต้นกล้าหรือตัดกิ่งเพสลาด (ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป) ไปเพาะชำจนเเตกราก หรือตอนกิ่งจนแตกรากสมบูรณ์ แล้วจึงนำไปปลูกในแปลง

ประโยชน์ทางสมุนไพร
ใบ รสขม มีสรรพคุณทางขับเหงือ ลดไข้ เจริญอาหาร เป็นยาระบาย ขับพยาธิ แก้ปวดเส้น ข้ออักเสบ แก้สะอึก ขับลม แก้ลมขึ้นเบื้องสูง
ดอก รสเย็น มีสรรพคุณแก้เจ็บตา เจ็บในคอ
ลูก รสขม มีสรรพคุณแก้ไ้
ราก รสร้อน รับประทานแก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ นำมาโขลกใส่แผลเป็นยาขับหนอง
เปลือกลำต้น รสร้อน ใช้ต้มรับประทานเป็นยาสะอึก ขับลม ขับเหงือ แก้กระษัย ผอมแห้ง ริดสีดวง ระงับพิษที่ผิวหนัง แก้ไข้ ขับน้ำเหลืองเสีย แก้อาเจียน เป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร
กระพี้ รสร้อน ใช้ต้มรับประทานเป็นยารักษานิ่ว

ประโยชน์ทางอาหาร
ใบอ่อน และ ดอก นิยมดองเป็นผักน้ำจิ้ม บางท้องถิ่นใช้เป็นผักใส่แกง

คุณค่าทางโภชณาการ
ใบผักกุ่มดอง 100 กรัมให้พลังงานต่อร่างกาย 88 แคลอรี ประกอบด้วยน้ำ 73.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 15.7 กรัม โปรตีน 3.4 กรัม ไขมัน 1.3 กรัม กาก 4.9 กรัม แคลเซี่ยม 124 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม เหล็ก 5.3 มิลลิกรัม วิตามินเอ 6083 IU วิตามินบี1 0.08 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 5 มิลลิกรัม



(2) กุ่มบก

ชื่อตามท้องถิ่น : กุ่ม,ทะงัน,กะงัน,สะเบากะงัน,ก่าม
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Crateva adansomii DC.subsp
วงศ์ : CAPPARIDDCEAE

ความเชื่อ
เป็นไม้มงคลที่โบราณนิยมปลูกไว้ทางทิศบูรพา หรือทิศตะวันออกเชือกันว่าจะบันดาลให้ผู้อยู่อาศัยมั่งคั่งด้วยทรัพย์สินเงินทองเป็นกลุ่มเป็นก้อนมีฐานะเป็นปึกแผ่นมั่นคง


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กุ่มบก เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 6-10 เมตร ชอบขึ้นบนดินทรายตามป่าผลัดใบ เขาหินปูน และป่าไผ่ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 350 เมตร ทางแถบจังเชียงใหม่ ลำปาง ตาก เลย สระบุรี ชลบุรี ระยอง ประจวบคีรีขันธ์
ลำต้น คล้ายต้นก้ามปู ทรงพุ่มกว้าง เปือกต้นหนา สีขาวหม่น
ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาวประมาณ 7-9 เซนติเมตร ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ ปลายเรียวแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนา ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโดนใบเบ้ยวเล็กน้อย
ดอก ออกตามง่ามใบใกล้ปลายยอด ลักษณะเป็นช่อแบบช่อกระจะ ดอกเมื่อเริ่มบานมีสีขาวอมเขียว พอบานเต็มที่จะเป็นสีขาว แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นเหลืองหรือชมพูอ่อน กลีบดอกรูปรี เมื่อแห้งมักเป็นสีส้ม
กุ่มบก ออกดอกช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง มิถุนายน โดยมากจะออกดอกเต็มต้น มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
ผล มีลักษณะกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร เปลือกมีจุดแต้มสีน้ำตาลอมแดง เมล็ดรูปไต หรือ คล้ายเกือกม้า ผิวเรียบ

การปลูก
ปลูกลงแปลงโดยขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักผสมดินร่วนเป็นดินปลูก

ขยายพันธ์
เพาะเมล็ดให้งอกงามเป็นต้นกล้าหรือตัดกิ่งเพสลาด (ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป) ไปเพาะชำจนเเตกราก หรือตอนกิ่งจนแตกรากสมบูรณ์ แล้วจึงนำไปปลูกในแปลง

ประโยชน์ทางสมุนไพร
ใบ รสร้อน มีสรรพคุณทางขับลม ฆ่าพยาธิ ใบสดตำละเอียดใช้ทารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้ตะมอย ใบและเปลือกรากใช้ทาถูนวดให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมาก ๆ
กระพี้ รสร้อน ทำให้ข้หูแห้งออกมา
แก่น รสร้อน แก้ริดสีดวง ผอมเหลือง
ราก รสร้อน แช่น้ำรับประทานเป็นยาธาตุ แก้กษัยอันเกิดแต่กองลม
เปลือกต้น รสร้อน ต้มรับประทานแก้ปวดท้อง ลงท้อง ขับลม คุมธาตุ บำรุงไฟธาตุ กระตุ้นลำใส้ให้ย่อยอาหาร แก้บวมบำรุงหัวใจ ใช้เป็นยาระงับประสาทและยาบำรุง

ประโยชน์ทางอาหาร
ใบอ่อน และ ดอก นิยมดองเป็นผักน้ำจิ้ม บางท้องถิ่นใช้เป็นผักใส่แกง

คุณค่าทางโภชณาการ
ใบผักกุ่มดอง 100 กรัมให้พลังงานต่อร่างกาย 88 แคลอรี ประกอบด้วยน้ำ 73.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 15.7 กรัม โปรตีน 3.4 กรัม ไขมัน 1.3 กรัม กาก 4.9 กรัม แคลเซี่ยม 124 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม เหล็ก 5.3 มิลลิกรัม วิตามินเอ 6083 IU วิตามินบี1 0.08 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 5 มิลลิกรัม



(3) ไผ่สีสุก
ชื่อตามท้องถิ่น : ไผ่สีสุก , สีสุก ,(กระเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน )
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Bambusa blumeana Schult.
วงศ์ : GRAMINEAE

ความเชื่อ
คนโบราณนิยมปลูกไผ่สีสุกไว้ในบริเวณบ้านเพราะชื่อของไผ่ชนิดนี้ไปคล้องจองกับคำว่า "มั่งมีศรีสุข" เชื่อกันว่าจะส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านร่ำรวยทรัพสินเงินทอง มีความสุขกายสบายใจ
การปลูกไผ่สีสุกโบราณนิยมปลูกไว้ทางทิศบูรพา หรือทิศตะวันออกของตัวบ้านท่านว่าจะอยู่เย็นเป็นสุข ความไข้จะไม่มี และควรลงมือปลูกในวันเสาร์ช่วงเวลาสาย ถือกันว่าเป็นฤกษ์ดีสำหรับปลูกต้นไม้อันมีคุณเพื่อเอาลำ นอกจากนั้นแล้วโบราณยังถือว่าต้นไผ่เป็นไม้มิ่งขวัญของคนเกิดปีมะโรง มะเส็ง มะเเม และปีระกา ถ้าให้คนเกิดปีที่ว่านี้เป็นผู้ปลูก ความเป็นสิริมงคลของต้นไผ่จะยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้น
ไผ่สีสุก เป็นหนึ่งในไม้มงคล 9 ชนิด ที่ใช้ในพิธีก่อฤกษ์หรือวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้างอาคารหรือก่อฐานประดิษฐานถาวรวัตถุที่มีความสำคัญ เช่น โบสถ์ วิหาร หรืออาคารใหญ่ของทางราชการ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไผ่สีสุก เป็นไม้ยืนต้น ขึ้นเป็นกอหนาแน่น ลำต้นมีลักษณะเป็นปล้องกลวง สีเขียวสด ผิวเป็นมัน สูงประมาณ 10-18 เซนติเมตร ข้อไม่กลางออกมาก กิ่งแตกตามข้อตั้งฉากกับลำต้น หนามแหลมโค้ง
ใบ สีเขียวอมเหลือง กว้างประมาณ 0.8-2 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่มหรือตัดตรง ขอบใบสาก ผิวใบมีขนอ่อน ๆ
ดอก ออกเป็นช่อบริเวณข้อปล้องตามปลายยอด ส่วนมากต้นอายุราว 30 ปีขึ้นไปจึงจะมีดอก เมื่อดอกแห้งต้นก้จะตายไป
ผล หรือลูกคล้ายเมล็ดข้าวสาร
หน่อ มีขนาดใหญ่

การปลูก
นิยมปลูกลงแปลงบริเวณรั้วบ้าน โดยขุดหลุมขนาดปลูกลงแปลงโดยขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร ใช้ฟูราดาน 50-100 กรัมรองก้นหลุมเพื่อป้องกันหนอนและด้วง แล้วใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักผสมดินร่วน อัตราส่วน 1-2 เป็นดินปลูก

การขยายพันธ์
สามารถขยายพันธ์ ด้วยการเพาะเมล็ด แยกกอ และปักชำ
เอาลำต้นไม้ไผ่มาตัดเป็นท่อน ๆ และแต่ละท่อนให้ติดปล้อง 1 ปล้อง แล้วนำไปปักไว้ในวัสดุชำให้ท่อนไม้ไผ่เอียงประมาณ 45 องศา เติมน้ำลงในกระบอกไม้ไผ่ให้เต็ม ทิ้งไว้ 4 สัปดาห์ จะมีหน่อแตกออกมาจากตาไม้ไผ่และรากจะงอกจากปุ่มใต้ตา

ประโยชน์ทางสมุนไพร
ราก:ขับปัสวะ แก้ไตพการ ขับนิ่ว แก้หนองใน ขับโลหิตระดู แก้มุสกิตระดูขาว แก้ไข้กาฬ แก้ไข้กาฬมูต แก้กระหายน้ำ แก้เบาแดง บำรุงเสมหะและโลหิต ชำระเสมหะและโลหิต ประสะโลหิต แก้ไข้พิษ
หน่อไม้: แก้หัวริดสีดวงทวารหนัก แก้ตับหย่อน ตับทรุด ม้ามย้อย กษัยเลือดเป็นก้อน
ตา แก้สตรีตกเลือดไม่หยุด ขับปัสวะ ดูดลมในกระเพาะอาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ฝี แก้กาฬเลือด แก้พิษฝีต่าง ๆ แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ
ใบ มีสรรพคุณขับและฟอกล้างโลหิตระดูที่เสีย ขับฤดูขาว แก้มดลูกอักเสบ ยอดอ่อนที่มีใบม้วยอยู่ 3 ยอดต้มน้ำดื่มเป็นยาขับปัสวะ

ประโยชน์ทางอาหาร
หน่อต้มหลายน้ำ หรือต้มกับใบย่านางเพื่อลดความขื่นขม รับประทานเป็นผักจิ้ม หรือใช้ประกอบอาหารทั้งผัดต้มแกง

คุณค่าทางโภชนาการ
หน่อไม้ 100 กรัมให้พลังงานแก่ร่างกาย 33 แคลอรี่ ประกอบด้วยน้ำ 93 กรัม ไขมัน 0.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.4 กรัม ใยอาหาร 0.8 กรัม โปรตีน 2.4 กรัม แคลเซี่ยม 58 กรัม ฟอสฟอรัส 48 กรัม วิตามินC 13 กรัม

ประโยชน์อื่น
ลำต้นใช้สร้างบ้านในชนบท ทำเครื่องจักสาน เครื่องใช้ในการประมง นั่งร้านก่อสร้าง ส่วนโคนใช้ทำไม้คานหาบหาม เนื้อเยื้อใช้ทำกระดาษ



(3) มะพร้าว
ชื่อตามท้องถิ่น : หมากอุ่น ,หมากอุน,ดุง,เฮ็ดดุง,โพล,คอส่า
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Cocos nucifere Linn
วงศ์ : PALMAE

ความเชื่อ
มะพร้าวถือว่าเป็นไม้มงคลตามตำราโบราณท่านว่า ปลูกต้นมะพร้าวไว้ในบริเวณบ้านทางด้านทิศบูรพา (ตะวันออก) ผู้อยู่อาศัยจะอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะพร้าวเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 20-30 เมตร ลำต้นมีลักษณะสูงชะลูดเปลือกลำต้นแข็ง
ใบ ออกเรียงซ้อนกันเป็นกระจุกที่ยอด เป็นใบประกอบรูปขนนก ก้านใบยาว ใบย่อยแตกจากแกนใหญ่เป็นคู่ ลักษณะเป็นแผ่นแคบยาว ปลายแหลมสีเขียว เนื้อเหนียว
ดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อระหว่างซอกใบ ดอกย่อยมีกลีบดอก 6 กลีบ
ผล รูปรงกลมหรือทรงรี ผลอ่อนสเขียว เมื่อแกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เปลือกนอกเรียบ ชั้นกลางเป็นเส้นใยเนื้อนุ่ม ชั้นในเป็นเนื้อแข็ง เรียกว่ากระลา ถัดจากกระลาจะเป็นเนื้อนุ่ม สีขาว รสมัน ข้างในมีน้ำใส รสหวาน

การปลูก
มะพร้าวเป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินทราย การปลูกจะใช้กล้าไม้ที่เพาะจากผลแก่โดยขุดขนาดประมาณ 60x60x60 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกผสมดินร่วนรองก้นหลุม จากนั้นจึงย้ายต้นกล้าลงปลูก ต้นกล้า กลบดินโคลนต้นให้แน่นแล้วลดน้ำให้ชุ่มทันที

การขยายพันธ์
นำผลแก่มาเพาะเป็นกล้าไม้ เมื่อมีอายุ 8-12 เดือนจึงนำไปปลูก

ประโยชน์ทางสมุนไพร
เปลือกต้นสด เอามาเผาให้เป็นถ่าน แล้วนำไปสีฟันแก้เจ็บปวดฟัน และใช้ทาแก้หิด
ดอก รสฝาดหอมหวาน มีสรรพคุณแก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย ขับปัสวะ อมบ้วนปากแก้เจ็บคอ เนื้อมะพร้าวรสมัน รับประทานยาบำรุงกำลัง ขับปัสวะ ขับพยาธิแก้ไข้
น้ำมะพร้าว รสหวานเค็ม รับประทานเป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสวะ แก้พิษ แก้กระหายน้ำ แก้นิ่ว แก้อาเจียนเป็นเลือดและบวมน้ำ
น้ำมันมะพร้าว รับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ใช้ทาแก้กลากเกลื้อน แก้โรคผิวหนังแห้ง ผสมกับน้ำปูนใสต่าง ๆ ทาผิวแกหนังแตก ทารักษาแผลไฟใหม้น้ำร้อนลวก ขูดมะพร้าวก้นกะลาออกมาบีบเอาน้ำมันไปเคี่ยวจนสุก ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วเอายอดมลิที่กลั่นใจเด็ด 7 ยอดโขลกละเอียดผสมกับน้ำมะพร้าวที่เคี่ยวแล้วใช้ทาแผลเป็นทุกวันแผลเป็นจะค่อย ๆ จางหายไป
กะลา เอามาเผาไฟจนเป็นถ่านแล้วบดจนเป็นผลละเอียด ผสมน้ำดื่ม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แก้ปวดกระดูกและเส้นเอ็น

ประโยชน์ทางอาหาร
เนื้อและน้ำมะพร้าวอ่อน ๆ รับประทานสดเป็นอาหารว่าง เนื้อแก่คั้นเอาน้ำกระทิ มาประกอบอาหารคาวหวานได้หลากหลายชนิด ยอดอ่อนใช้ประกอบอาหารได้ทั้งผัดและแกง

คุณค่าทางโภชนาคาร
เนื้อมะพร้าวอ่อน 100 กรัม ให้พลังงานต่ร่างกาย 55 แคลอรี ประกอบด้วยน้ำ 83.1 กรัม คาร์โบไฮเดรท 7.7 กรัม โปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 2.0 กรัม กาก 4.5 กรัม ฟอสฟอรัส 173 มิลลิกรัม เหล็ก 1.0 กรัม วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 4 มิลลิกรัม


ต้นไม้มงคลประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้ ( อาคเนย์ )

(1 ) กระทิง
ชื่อตามท้องถิ่น :กระทิง,กากระทิง,ทิง,เนาวการ,สารภีทะเล,สารภีแนน
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Calophyllum ino-phyllum linn.
วงศ์ :GUTIFERAE

คติความเชือ
ต้นกระทิงเป็นหนึ่งในต้นไม้มงคลที่ถูกกำหนดให้ปลูกไว้ทางทิศอาคเนย์ หรือทิศตะวันออกเฉียงใต้ ดังตำราที่ว่า กระทิง ยอ สารภี สามสิ่งนี้อย่าให้สูญปลูกไว้ให้บริบูรณ์ ในทิศฝ่ายอาคเนย์ เชื่อกันว่าการปลูกต้นกระทิง ต้นยอ และต้นสารภี ไว้ทางทิสตะวันออกเฉียงใต้ จะปกป้องเสนียดจัญไรมิให้กล้ำกรายเข้ามาในบ้าน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระทิง หรือ สารภีทะเล เป็นพันธ์ไม้ประจำจังหวัดระยอง เป็นต้นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ สีเขียวเข้ม ลำต้นเปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา ไม่ตกสะเก็ดอย่างเปลือกต้นสารภี เปลือกในสีชมพู เนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง กิ่งอ่อนสีเขียว
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม รูปใบรีหรือไข่กลับ ปลายมนกลม หรือเว้าเล็กน้อย โคนสอบโค้ง ขอบใบเรียบ ตัวใบหนา ค่อนข้างแข็ง ผิวใบด้านบนและด้านล่างเรียบเกลี้ยงเป็นมันเงา เส้นใบมองเห็นชัดทั้งสองด้าน เส้นกลางใบสีเหลืองอ่อน
เส้นแขนงถี่มากและขนานกันเป็นแนวนอน ก้านใบสีเขียว ใบมีขนาดกว้าง 4.5-8 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร
ดอก สีขาว กลิ่นหอม ลักษณะเป็นช่อแบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยมี 4 กลีบ และมีกลีบรองกลีบ 2 กาบ เมื่อบานเต็มที่กาบรองดอกจะบานอ้าออกด้วย จึงมองดูเหมือนมีกลีบดอก 6 กลีบ กลางดอกมีเกสรผู้เป็นเส้นฝอยสีเหลืองรวมอยู่เป็นกระจุก กระทิงจะออกดอกปีละ 2-3 ครั้ง ประมาณเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม หรือมกราคม ถึง มีนาคม บางแห่งออกดอกตลอดทั้งปี
ผล ลักษณะกลมแข็ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร ผลนี้หุ้ด้วยเปลือกบาง ๆ ไว้ชั้นนอก เมื่อเอาเปลือกออกจะพบกระโหลกแข็ง ทำหน้าที่เมล็ดสำหรับขยายพันธ์ ผลสดมีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่ผิวจะแห้งย่นและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

การปลูก
ต้นกระทิงชอบสภาพดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ความชุ่มชื้นปานกลาง ใช้ต้นกล้าหรือกิ่งตอนปลูกในหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักผสมดินร่วน
โดยธรรมชาติเป็นต้นไม้ที่ชอบขึ้นตามชายป่าริมทะเล หรือบริเวณที่เป็นโขดหิน รากจะซอนไซไปเรื่อย ๆ จึงไม่ควรนำมาปลูกใกล้ตัวบ้าน เพราะรากจะซอนไวไปตามพื้นบ้านได้

การขยายพันธ์
ขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด หรือ ตอนกิ่ง

ประโยชน์ทางสมุนไพร
ดอก ใช้ปรุงเป็นยาหอม บำรุงหัวใจ ยาชูกำลัง
เปลือก รสฝาดเมา ใช้ชำระล้างแผลแก้ไข
ราก ใช้เป็นยาเบื่อปลา
ใบ รสฝาด ใช้รักษาตาแดง ตาฟาง ตามัว
น้ำมันจากเมล็ด ใช้ทาแก้ปวดข้อ เคล็ดขัดยอก บวม รักษาโรคเรื้อน ทำเครื่องสำอาง
ยาง เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน ยาสมานและกัด ฝ้า

ประโยชน์อื่น
เนื้อไม้ ทำไม้แปรรูป ใช้ต่อเรือ ทำกระดูกงูเรือ ไม้หมอนรสไฟ เฟอร์นิเจอร์